สถิติ
เปิดเมื่อ29/09/2014
อัพเดท10/11/2014
ผู้เข้าชม409887
แสดงหน้า527235
สินค้า
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์

อ่าน 493 | ตอบ 3
โดย ดร.อนุชา โสมาบุตร

หากจะว่าไปแล้วมีครูและนักการศึกษาบางส่วนที่ยังนึกไม่ออกว่า เมื่อมีทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (หรือทฤษฎีการสร้างความรู้ก็เรียก) จะนำไปเป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้อย่างไร ผู้เขียนได้เคยเขียนเกี่ยวกับทฤษฎีนี้มาแล้ว โดยได้เสนอว่า ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์แบ่งเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา ว่าด้วยการสร้างความรู้โดยอธิบายจากแนวคิดกระบวนการทางปัญญา และทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม โดยอธิบายการสร้างความรู้ที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม คำถามต่อมาคือจะนำแนวคิดใดไปใช้บ้าง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งได้หรือไม่ โดยความเป็นจริงแล้ว ทั้งสองกลุ่มแนวคิดนี้มิได้มีแนวคิดที่ขัดแย้งกันเพียงแต่อธิบายคนละพื้นฐานเท่านั้นเอง หากแต่ทั้งสองได้มุ่งอธิบายกลไลการสร้างความรู้ของบุคคลเช่นเดียวกัน โดยในบทความนี้จะเสนอแนะแนวทางในการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญามาเป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้

บ่อยครั้งหรือเกือบทุกครั้งที่หากเมื่อเราเกิดความสงสัยหรืออยากรู้เรื่องใดแล้ว เราจะต้องพยายามรู้เรื่องนั้นให้ได้ ด้วยวิถีทางที่เราเชื่อว่าง่ายที่สุดสำหรับการได้มาซึ่งคำตอบ (แม้บางทีมีคนแนะนำวิธีการอื่นเราก็ไม่เอาด้วย เพราะเราเชื่อของเราอย่างนี้) โดยคำตอบนั้นอาจจะได้มาทันทีหรือไม่ทันที เราเองก็จะใช้ความพยายามในการหาคำตอบเมื่อมีโอกาส และหากสังเกตดีๆ เรื่องที่เราอยากรู้มากๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของเราเอง ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของเรา หรือคนใกล้ชิด หรือหากความสงสัยนั้นรุนแรงถึงขั้นเป็นปัญหา เราเองก็จะถึงกับกระวนกระวายหากหาคำตอบหรือแก้ปัญหานั้นไม่ได้

ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา ซึ่งนักจิตวิทยาที่มีส่วนสำคัญในการเสนอแนวคิดนี้คือ Jean Piajet โดยอธิบายว่า การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดจากการปรับเข้าสู่สมดุลทางปัญญา เนื่องมาจากการเสียสมดุล หรือพูดกันง่ายๆก็คือ ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีก่อนอื่นจะต้องเกิดความสงสัยอยากรู้หรือเกิดปัญหาเสียก่อน (สุมาลี ชัยเจริญ (2548) เรียกว่า การเสียสมดุลทางปัญญา) หลังจากนั้นผู้เรียนจะพยายามค้นหาคำตอบด้วยวิถีทางที่เขาเชื่อว่าจะบรรลุผลสำเร็จได้โดยเร็ว (นั่นคือ leraning style ของผู้เรียนนั่นเอง) โดยเมื่อปัญหา คำถามหรือข้อสงสัยนั้นได้รับความกระจ่างแล้วจึงเรียกว่า เกิดการเรียนรู้ (สุมาลี ชัยเจริญ (2548) เรียกว่า การปรับเข้าสู่สมดุลทางปัญญา)
จากแนวคิดดังกล่าวสามารถนำมาเป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ดัังนี้

  • ครูจัดเตรียมสถานการณ์ที่เป็นปัญหา เหตุการณ์หรือข้อคำถามที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสงสัย โดยปัญหานั้นจะต้อง 1) เกี่ยวข้องกับนักเรียนหรือใกล้เคียงกับบริบทของผู้เรียน และ 2) เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะทำการสอน ยกตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ การกระตุ้นให้เกิดความสงสัยในสภาพจริงในการเรียนของนักศึกษาแพทย์ ซึ่งอาจารย์หมอจะใช้ case ของคนไข้เป็นสิ่งกระตุ้นให้นักศึกษาแพทย์เกิดความสงสัย และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาหรือการวินิจฉัยโรคและหาแนวทางการรักษาโรคนั่นเอง ซึ่งในชั้นเรียนทั่วๆไป ครูอาจยกเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาและเกี่ยวข้องกับเนื้อหามาให้นักเรียนเพื่อเสนอแนวทางการแก้ปัญหา หรือ ครูอาจจะสมมุติสถานการณ์ขึ้นมาเองก็ได้ หรืออาจใช้ Clip จาก Youtube ที่เกี่ยวข้องและเป็นปัญหามาช่วยกระตุ้นด้วยก็ได้ แต่โดยหลักการคือ “ทำอย่างไรให้นักเรียนเกิดความสงสัยหรืออยากรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง” (แน่นอน ถ้าเป็นปัญหาอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับนักเรียนแต่อาจเกี่ยวข้องกับเนื้อหา ก็ยากที่จะกระตุ้นให้เกิดความสงสัยอยากรู้ เหมือนกับเพื่อนอกหักก็ยังเป็นปัญหาน้อยกว่าเราอกหักเสียเอง ฉันใดก็ฉันนั้น)

bad choice

  • หลังจากที่ครูกระตุ้นให้นักเรียนได้เกิดความสงสัยแล้ว บทบาทต่อมาคือต้องมีการจัดเตรียมเนื้อหา ความรู้ หรือแหล่งทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ไว้สำหรับนักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า ในการคลายปมข้อสงสัยหรือหาแนวทางการแก้ปัญหา รวมทั้งอนุญาตให้นักเรียนได้วางแผนหรือคิดวิธีการหาคำตอบหรือแก้ไขปัญหาด้วยตัวของเขาเอง โดยบางคนชอบอ่านเอง บางคนชอบฟัง บางคนชอบพูดคุยแลกเปลี่ยน โดยบทบาทครูก็ต้องจัดสภาพและกระบวนการให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามแนวทางในต้องการ รวมทั้งการจัดเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์รวมทั้ง ICT เพื่อให้นักเรียนได้ใช้ในการสืบค้น จัดการ รวบรวมและสังเคราะห์คำตอบได้อย่างเต็มที่ (บทบาทเช่นนี้ของครูเรียก “การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้” ที่ไม่ใช่การให้เนื้อหาอย่างเดียว แต่ต้องมีการจัดสภาพการเรียนรู้แลกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายในการเรียนรู้) โดยหลักการของส่วนนี้คือ “ครูต้องสนับสนุนให้นักเรียนได้ค้นคว้า เข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งสนับสนุนเครื่องมือในการเรียนรู้ต่างๆ” (สุมาลี ชัยเจริญ (2548) เรียกว่า การสนับสนุนการปรับเข้าสู่สมดุลทางปัญญา)

cognitivecondtructivist

กล่าวโดยสรุป ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญาคือ บทบาทของครูที่จะกรุต้นให้นักเรียนเกิดความสงสัยใคร่รู้ โดยอาจใช้คำถาม ปัญหา สถานการณ์หรือสภาพการที่เป็นปัญหาช่วยกระตุ้นให้เกิดความสงสัย หลังจากนั้นควรต้องส่งเสริมให้นักเรียนได้ลงมือค้นหาคำถามด้วยตัวของนักเรียนเองตามความชอบและความถนัด ซึ่งครูต้องจัดเตรียมเนื้อหาที่เพียงพอสำหรับการแก้ปัญหาและจัดเตรียมเครื่องมือที่นักเรียนจะสามารถใช้ในการค้นหา รวบรวมและจัดการความรู้ต่างๆ เพื่อนำไปสู่การสรุปแนวทางการแก้ปัญหาหรือคำตอบของปัญหานั่นเอง

ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

Ellis
Thanks designed for sharing such a pleasant opinion, piece of writing is fastidious, thats why i have read it entirely
 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : http://ratemymanboobs.com/__media__/js/netsoltrademark.php?d=www.sweetasmoiok.com
Ellis [1.161.122.xxx] เมื่อ 3/04/2017 21:55
2
อ้างอิง

Jeffrey
What's up, all is going sound here and ofcourse every one is sharing information, that's in fact good, keep up writing.
 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : http://jollydome6027.soup.io/post/594185834/Can-Hammer-Toes-Cause-Neuropathy
Jeffrey [114.44.202.xxx] เมื่อ 28/05/2017 20:25
3
อ้างอิง

Therese
Unquestionably believe that which you stated. Your favorite reason seemed to be on the internet the easiest thing to be aware of. I say to you, I certainly get annoyed while people consider worries that they plainly do not know about. You managed to hit the nail upon the top as well as defined out the whole thing without having side-effects , people could take a signal. Will probably be back to get more. Thanks
 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : http://razeshoelifts.com
Therese [114.44.203.xxx] เมื่อ 30/04/2018 17:40
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
Rich Text Editor
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :